ตะกร้า
Language:
ปิด
Language:

อันตรายจากรังสี UV ต่อดวงตาของลูกน้อย!

1. รังสี UV คือ

รังสี UV หรือ รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) คือคลื่นแสงสีม่วงที่สามารถเห็นด้วยตา แบ่งได้เป็น UV-A (ขนาด 400 – 320) UV-B (ขนาด 320 – 290) และ UV-Cขนาด 290 ซึ่งมีแหล่งกำเนิดมาจากดวงอาทิตย์ และรังสียูวีที่เกิดจากมนุษย์ โดยปกติแล้ว ในส่วนของรังสีUVซีจะถูกทำลายโดยชั้นโอโซนจึงไม่สามารถลงมายังโลกของเราได้ และรังสีUVที่ตกกระทบมายังโลกได้แบ่งออกเป็น รังสีUV-A 90% และ รังสี UV-B 10% และรังสีUV ที่เกิดจากมนุษย์สร้างขึ้นคือ UV LED, UV Laser 

2. โรคที่มีสาเหตุมาจากการได้รับรังสีUV มากเกินไป

การได้รับแสงส UV ในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลเสียโดยตรงต่อผิวหนัง ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายและเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง นอกจากนี้อันตรายของรังสีUV ยังส่งผลต่อดวงตา โดยเฉพาะเซลล์บริเวณดวงตาของลูกน้อยที่มีความบอบบางมากกว่าผู้ใหญ่ นอกจากหากลูกน้อยได้รับรังสี UV ในปริมาณที่มากเกินไป และสะสมเป็นระยะเวลายาวนาน อาจก่อให้เกิดโรคทางดวงตา เช่น

  • โรคต้อลม ลูกน้อยที่ได้รับรังสี UV มากกว่าปกติเสี่ยงต่อการเกิดโรคต้อลม เพราะรังสี UV กระตุ้นให้เกิดการแตกหักของเนื้อเยื่อคอลลาเจนของเยื่อบุตา ทำให้เยื่อบุตาเสื่อมสภาพและหนาตัวขึ้น จึงเห็นเป็นวุ้น ๆ ข้าว ๆ ตาดำ และเป็นเยลลี่สีใสอมเหลืองอ่อน ก่อให้เกิดการระคายเคืองตา ตาแดง และสู้แสงไม่ได้
  • โรคต้อกระจก ตาขุ่นมัว มองไม่ชัด หากลูกน้อยได้รับรังสี UV บริเวณดวงตามากเกินไป ทำให้เลนส์แก้วตาเสียสภาพความใสไป กลายเป็นเลนส์ขุ่น มีผลทำให้การมองเห็นลดลง เสื่อมคุณภาพลง หรืออาจจะมองไม่ชัด และเสี่ยงตาบอดหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที
  • โรคภูมิแพ้ตามฤดูกาล แสงแดดที่แรงมาก ๆ จะทำให้ลูกน้อยที่เป็นภูมิแพ้ตามฤดูกาลซึ่งอาจจะเป็นโดยกำเนิด มีอาการคันและเคืองตากำเริบขึ้นได้ในช่วงปลายฤดูร้อนติดกับต้นฤดูฝน ทางที่ดีควรให้ลูกน้อยหลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือไปในที่ที่มีฝุ่นละอองเกสรดอกไม้ ต้นหญ้า ที่อาจเป็นสาเหตุของการแพ้ได้

3. วิธีการป้องกันรังสีUV สำหรับลูกน้อยในแต่ละช่วงอายุ



ลูกน้อยตั้งแต่วัยแรกเกิด ถึง 6 เดือน 

  • ลูกน้อยในวัยนี้ยังไม่ควรสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง
  • ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแดด โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสาเคมี เนื่องจากผิวของลูกน้อยวัยนี้ยังไม่สามารถเผาผลาญและขับสามีของผลิตภัณฑ์ป้องกันแดดออกจากผิว
  • ในกรณีที่ต้องสัมผัสกับแดดโดยตรง ควรสวมเสื้อผ้าที่ป้องกันแดดและมีน้ำหนักเบา โดยครอบคลุมทั้งบริเวณขาและแขนของลูกน้อย
  • ป้องกันบริเวณศีรษะ ใบหน้า หู และลำคอของลูกน้อยด้วยการสวมหมวกปีกกว้าง
  • ติดฟิล์มที่สามารถป้องกันรังสีUVบริเวณหน้าต่างของรถยนต์ ในระหว่างการเดินทาง โดยฟิล์มต้องมีคุณสมบัติในการป้องกันรังสีUV 100% โดยไม่ลดการมองเห็น
  • สวมแว่นตากันแดดที่มีคุณสมบัติป้องกันรังสีUV-A และ UV-B ซึ่งเป็นอันตรายต่อดวงตาของลูกน้อยโดยตรงและเป็นสาเหตุของการเกิดต้อกระจก และจอประสาทตาถูกทำลาย

ลูกน้อยวัย 6 – 12 เดือน

  • ในช่วงอายุ 6 – 12 เดือน ลูกน้อยสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดสำหรับเด็กได้ ควรมีคุณสมบัติที่ไม่เป็นอันตรายต่อผิวและระคายเคือง
  • ป้องกันแสงแดดจากลูกน้อยเช่นเดียวกับช่วงอายุแรกเกิด ถึง 6 เดือน ควบคู่ไปกับการใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแดดสำหรับเด็ก โดยมีค่า SPF ต่ำกว่า 30 และมีคุณสมบัติในการป้องกันรังสีUV-A และ UV-B และปราศจากน้ำหอม






Reference

 

UCSF Benioff Children’s Hospital, Sun Safety for Children and Babies, Retrieved Oct 18, 2021, from https://www.ucsfbenioffchildrens.org/education/sun-safety-for-children-and-babies

 

ศ.พญ. สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต จักษุแพทย์ รพ. ตา หู คอ จมูก,ความหมายของรังสียูวี, สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564 จาก https://eent.co.th/articles/098/